Knowledge
สุดยอดสารพฤกษเคมี Carotenoid
แคโรทีนอยด์ พบมากในพืช ผัก ผลไม้ มีคุณสมบัติเป็นทั้งสารต้านอนุมูลอิสระ แคโรทีนอยด์มีหลายชนิดแต่ละชนิดก็ให้คุณค่าทางสารอาหารที่เป็นประโยชน์แตกต่างกัน ซึ่งแคโรทีนอยด์ที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ เบต้า-แคโรทีน ไลโคปีน และลูทีน
ไลโคปีน/ Lycopene
ไลโคปีน เป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ซึ่งมีฤทธิ์แอนตี้ออก- ซิแดนซ์สูง ไลโคปีนมีรงควัตถุสีแดง (Pigment) พบมากในมะเขือเทศสุก และพบทั่วไปในแตงโม มะละกอ และผลไม้อื่นๆ ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ไลโคปีนเองได้ ดังนั้นเราจึงต้องรับประ- ทานไลโคปีนจากผักผลไม้หรืออาหารเสริมเข้าไปเพื่อบำรุงร่างกาย
จากการศึกษาวิจัยพบว่าไลโคปีนกระจายอยู่ทั่วไปในเนื่อเยื่อบริเวณต่างๆ ซึ่งบริเวณที่ มีการสะสมของไลโคปีนอยู่มากคือที่ต่อมหมวกไต ลูกอัณฑะและตับ นอกจากนี้ยังพบว่าไลโค- ปีนที่ผ่านกระบวนการใช้ความร้อน เช่น การปรุงอาหาร ร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดี กว่าไลโคปีนในธรรมชาติ
อ้างอิง :
- Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes. Washington, DC: National Academy Press; 2006.
- Arab, L and Steck, S Lycopene and Cardiovascular Disease. Am J Clin Nutr 2000; 71 (Suppl): 1691S – 5S
- Fuhrman, B et al. Hypocholesterolemic Effect of Lycopene and Beta-Carotene Is Related to Suppression of Cholesterol Synthesis and Augmentation of LDL Receptor Activity in Macrophages Biochemical and Biophysical Research Communication 1997; 233: 658-662
- กองโภชนาการ, ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546: 165-168
ลูทีน/ Lutein
ลูทีน จัดเป็นสารประกอบในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีฤทธิ์แอนตี้- ออกซิแดนซ์ ลูทีนมีรงควัตถุสีเหลือง (Pigment) พบได้ทั่วไปในผักใบสีเขียวเข้ม ในร่าง- กาย คนเราลูทีนถูกพบปริมาณสูงบริเวณตรงกลางของจุดรับภาพของตา (Retina) หรือ ที่เรียกว่า มาคูลา (Macula) และยังถูกพบที่เลนส์ตาอีกด้วย
ประโยชน์ของลูทีนคือช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงิน (Blue Light) ที่มีอยู่ในหน้าจอของ อุปกรณ์ทั้งหลาย เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต เป็นต้น ลูทีนช่วยปกป้องการ ทำลายเยื่อบุผิวของเรตินา จากการศึกษาพบว่า การรับประทานลูทีนในระดับ 2.0 - 6.9 มิลลิกรัมต่อวัน จะช่วยป้องกันความเสื่อมของจุดรับภาพในดวงตาได้ ดังนั้นการบริโภค ลูทีนอย่างเพียงพอจะช่วยป้องกันโรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD) และโรคต้อกระจกได้ ทั้ง ยังทำให้สภาวะของโรคในผู้ป่วยดีขึ้นด้วย
อ้างอิง :
- Institute of Medicine, Food and Nutrition Board. Dietary Reference Intakes. Washington, DC: National Academy Press; 2006.
- Keyvan, K et al., The Role of Lutein in Eye Related Disease. Nutrients 2013, 5, 1823-1839.
- Bone, R.A., J.T. Landrum, and S.L. Tarsis, Preliminary Identification of the Human Macular Pigment. Vision Res, 1985. 25(11): p. 1531-5
- Yuem, K.J., et al., Fat-Soluble Nutrient Concentrations in Different Layers of Human Cataractous Lens Curr Eye Res, 1999 19(6): p. 502-5
เบต้า-แคโรทีน/ Beta-Carotene
เบต้า-แคโรทีน สารตั้งต้นวิตามินเอที่อยู่ใกลุ่มแคโรทีนอยด์ เมื่อร่างกายได้รับเข้า ไปส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ และอีกส่วนจะทำหน้าที่เป็นแอนตี้ออกซิแดนซ์ ดังนั้น เบต้าแคโรทีนจึงมีประโยชน์คล้ายวิตามินเอ คือช่วยบำรุงดวงตา จำเป็นต่อการมองเห็นเสริม สร้างความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ และมีความ ปลอดภัยสูงกว่าการรับประทานวิตามินเอปริมาณสูงอีกด้วย
อ้างอิง :
- Peterka M1, Peterková R, Likovský Z., Different embryotoxic effect of vitamin A and B-carotene detected in the chick embryo. Acta Chir Plast. 1997;39(3):91-6.
- Hughes DA., Effects of carotenoids on human immune function. Proc Nutr Soc. 1999 Aug;58(3):713-8.
- กองโภชนาการ, ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546: 173-181