Skip to main content

วิตามินรวม สำคัญจริงหรือ ?? สำหรับวัย 50+

man-woman-cooking

  

ต้องยอมรับว่าเมื่ออายุเดินทางเข้าสู่เลข 5 ร่างกายย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างชัดเจน และการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ล้วนแต่เป็นทางลบ ทั้งลุกนั่งลำบาก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อถดถอย ผิวพรรณเริ่มไม่สดใส ความยืนหยุ่นลดลง ริ้วรอยชัดขึ้น สายตาเริ่มมีปัญหา

และที่สำคัญภูมิคุ้มกันก็ไม่แข็งแรงเหมือนเดิมทำให้เจ็บป่วยบ่อยกว่าเดิม ซึ่งทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะเซลล์ต่างๆ ในร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพ ระดับฮอร์โมนลงลง ระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารทำงานได้ไม่ดี

แต่ปัญหาสำหรับคนวัย 50 มีทางออก! ด้วยการรับประทานวิตามินรวมเสริมเพื่อช่วยในการดูแลสุขภาพ และเติมเต็มส่วนที่พร่องหรือขาดให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่ เห็นถึงความสำคัญของวัย 50 กับการกินวิตามินรวม

และจากข้อมูลการสำรวจการได้รับวิตามินและแร่ธาตุจากอาหารในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุของประชากรไทย พบว่า 82.3% รับประทานผักผลไม้ไม่เพียงพอ และคนกลุ่มนี้ได้รับวิตามินที่สำคัญต่างๆน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับ ด้วยเหตุนี้ วัย 50+ จึงควรได้รับวิตามินรวมเสริม ในการช่วยดูแลสุขภาพ

และนี่คือ 5 เคล็ดลับในการเลือกวิตามินรวมเพื่อดูแลสุขภาพและร่างกายของคนวัย 50+ ให้กลับมาแข็งแกร่ง พร้อมที่จะสนุกและเต็มที่กับทุกกิจกรรม

  1. วิตามินรวมที่เลือกต้องช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันได้อย่างครอบคลุม
    ในยุค New Normal ที่ร่างกายต้องแข็งแรง
    และระบบภูมิคุ้มกันต้องแข็งแกร่งพร้อมจะเป็นเกราะป้องกันที่หนาแน่นให้กับร่างกาย
    ดังนั้นวิตามินที่ต้องรับประทานเป็นประจำคือ วิตามิน A วิตามิน C วิตามิน E วิตามิน D วิตามิน B6 B9 และ B12
    เพราะวิตามินทั้งหมดนี้จะช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
     
  2. วิตามินรวมจะต้องมีคุณสมบัติในการเสริมสร้างพลังงาน ลดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
    ในวัย 50+ การทำงานของระบบเผาผลาญสารอาหารเพื่อผลิตพลังงานให้กับร่างกายจะมีประสิทธิภาพลดลง
    มักส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่สดชื่นระหว่างวัน ประสิทธิภาพในการทำงานก็ลดลง
    โดยวิตามินที่ช่วยในการเสริมสร้างพลังงานได้แก่ วิตามิน B1 B2 B5 และ B7
family-selfie
  1. ให้วิตามินช่วยทำหน้าที่บำรุงสุขภาพสมองและระบบประสาท
    ต้องยอมรับว่าในวัย 50+ ความรับผิดชอบในหน้าที่การงานส่วนใหญ่จะอยู่ที่การใช้ความคิดเป็นหลัก ดังนั้นอย่าลืมเติมวิตามิน B วิตามิน C วิตามิน E วิตามิน D และเบต้า-แคโรทีน เป็นประจำ เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพสมองและระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  2. อย่าลืมบำรุงสุขภาพดวงตา
    ในยุคนี้การสื่อสารส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันมักผ่าน Social network เป็นหลักเช่น ไลน์ ,เฟสบุค เป็นต้น ทำให้ต้องใช้สายตาอย่างมากในการจ้องจอต่างๆ ผนวกกับในวัย 50+ เริ่มมีความเสื่อมของดวงตาไปตามวัย วิตามินที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตา ได้แก่ วิตามิน,วิตามินC,วิตามิน E ที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ร่วมกับ ลูทีน และเบต้า แคโรทีนในการช่วยดูแลสุขภาพดวงตา
family-catchup
  1. ส่งเสริมสุขภาพระบบหัวใจและหลอดเลือด
    เมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะในวัย 50 มักเริ่มมีปัญหาระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันเริ่มสูง บางคนพบภาวะการอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสารไลโคปีนที่พบได้มากในมะเขือเทศจะทำงานร่วมกับวิตามินเกลือแร่ หลายชนิดในการดูแลสุขภาพของหัวใจ

Shop Now​

Mask Man

PM-TH-CNT-21-00101

เอกสารอ้างอิง

  1. Calder PC. Nutrition and immunity: lessons for COVID-19. Eur J Clin Nutr. 2021; 23:1-10.
  2. Tardy AL, Pouteau E, Marquez D, Yilmaz C, Scholey A. Vitamins and Minerals for Energy, Fatigue and Cognition: A Narrative Review of the Biochemical and Clinical Evidence. Nutrients. 2020; 12(1):228.
  3. Kennedy DO. B Vitamins and the Brain: Mechanisms, Dose and Efficacy--A Review. Nutrients. 2016;8(2):68.
    Li FJ, Shen L, Ji HF. Dietary intakes of vitamin E, vitamin C, and β-carotene and risk of Alzheimer's disease: a meta-analysis. J Alzheimers Dis. 2012;31(2):253-8.
    Anjum I, Jaffery SS, Fayyaz M, Samoo Z, Anjum S. The Role of Vitamin D in Brain Health: A Mini Literature Review. Cureus. 2018;10(7):e2960.
  4. Hobbs RP, Bernstein PS. Nutrient Supplementation for Age-related Macular Degeneration, Cataract, and Dry Eye. J Ophthalmic Vis Res. 2014;9(4):487-93.
    Liu R, Wang T, Zhang B, Qin L, Wu C, Li Q, Ma L. Lutein and zeaxanthin supplementation and association with visual function in age-related macular degeneration. Invest Ophthalmol Vis Sci. 2014;56(1):252-8.
  5. Neufcourt L, Assmann KE, Fezeu LK, Touvier M, Graffouillère L, Shivappa N, et al. Prospective association between the dietary inflammatory index and metabolic syndrome: findings from the SU.VI.MAX study. Nutr Metab Cardiovasc Dis. 2015;25(11):988-96.
    Ried K, Fakler P. Protective effect of lycopene on serum cholesterol and blood pressure: Meta-analyses of intervention trials Maturitas. 2011;68(4):299-310.